วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ตัวเครื่องหรือเคส (Case)



เคส คอมพิวเตอร์ – computer case

เคส คอมพิวเตอร์ ก็คือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ คอมพิวเตอร์ เอาไว้ข้างใน เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ ขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้องกันไฟดูด ป้องกันอุปกรณ์สูญหาย และการป้องกันการส่งคลื่นรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
ชนิดของ เคส คอมพิวเตอร์
ชนิดของ เคสคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะแบ่งตามขนาด และลักษณะของมัน ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
• ประเภทวางยืน หรือ Tower
• ประเภทวางนอน หรือ Desktop บางทีเราก็เรียกว่าแบบตั้งโต๊ะ แต่ก็อาจจะสับสนกับประเภทแรก เพราะตั้งบนโต๊ะเหมือนกัน
ประเภท วางยืน หรือ ทาวเวอร์ – Tower
ประเภทนี้ยังแบ่งเป็นประเภทย่อยได้อีก คือ
มินิทาวเวอร์ – Mini Tower
ข้อดีของประเภทนี้ คือ มีขนาดกะทัดรัด จะวางบนโต๊ะ หรือ ใต้โต๊ะก็สะดวก แต่ข้อเสีย คือจะ เพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปอีกค่อนข้างลำบาก เพราะพื้นที่ภายในแคบ อาจจะใส่ฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว หรือเพิ่มการ์ดต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ อย่างไรก็ตาม เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้มักจะได้รับความนิยมในสำนักงาน เพราะประหยัดพื้นที่ ขณะเดียวกัน งานในสำนักงานก็มักเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ขีดความสามารถของเครื่อง คอมพิวเตอร์ สูงอยู่แล้ว
มิดทาวเวอร์ – Mid Tower
เคส รุ่นนี้ เป็น เคส ขนาดกลาง ซึ่งจะมีเนื้อที่ในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปได้มากกว่า ขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่เกินไป ยังเหมาะสมที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ รุ่นนี้มักเป็นที่นิยมของผู้ประกอบเครื่อง คอมพิวเตอร์ ด้วยตนเอง หรือจ้างให้ร้านประกอบให้ แม้กระทั่งในสำนักงานก็ยังนิยมใช้รุ่นนี้เหมือนกัน
ฟูล ทาวเวอร์ – Full Tower
เป็น เคสคอมพิวเตอรรุ่นใหญ่ ซึ่งผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอมพิวเตอร์ หรือนักเล่นเกม จะนิยมประเภทนี้ เพราะใส่อุปกรณ์ได้มาก และระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย ข้อเสียของมันคือมีขนาดใหญ่ จึงไม่ค่อยจะเหมาะที่จะวางบนโต๊ะ ผู้ใช้จึงมักหาที่วางใต้โต๊ะ หรือข้างโต๊ะ เคสคอมพิวเตอรขนาด นี้ยังเอาไปทำเป็นเครื่อง เซอร์เวอร์ (Server) สำหรับบริการเครื่อง คอมพิวเตอร์ อื่น ๆ ด้วย
ประเภทเดสก์ทอป – Desktop
วัตถุประสงค์ของ เคส ประเภท นี้ เพื่อประหยัดพื้นที่ โดยเอาจอภาพวางซ้อนด้านบน ข้อเสียของมันคือจะเพิ่มเติมอุปกรณ์อีกแทบไม่ได้เลย อย่างไรก็ตาม เคส ประเภทนี้ยังคงเป็นที่นิยมใช้ในธุรกิจต่าง ๆ อยู่ เฉพาะอย่างยิ่ง คอมพิวเตอร์ ที่อยู่บนเคาน์เตอร์ หรืออยู่บนโต๊ะขนาดเล็ก
สลิม เดสก์ทอป – Slim Desktop
เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ มักใช้ในหน่วยงานขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้ คอมพิวเตอร์ จำนวนมาก การออกแบบระบบ คอมพิวเตอร์ ก็ให้ประมวลผลที่เครื่อง เซอร์เวอร์ หรือ เมนเฟรม การเก็บข้อมูลก็เก็บที่ศูนย์ข้อมูล แทนที่จะเก็บที่เครื่องลูก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์มากมาย และสามารถประหยัดการลงทุนกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ได้มาก เมนบอร์ดและซีพียู ก็อาจใช้ประเภทขนาดเล็ก กินไฟน้อย อุปกรณ์ต่าง ๆ อาจรวมเป็นชิ้นเดียว บนเมนบอร์ดเลย ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครื่อง workstation มากกว่าที่จะเรียก PC หรือ Personal Computer


เคสแบบ Desktop
                                                                                                                                                                                         เคสแบบ Tower 
อ้างอิง
http://www.it.scilpru.in.th/web_teacher/pongporn/hardware2/case.html                      
 

เมนบอร์ด (Mainboard)

เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม

มารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด


1.ซ็อกเก็ตซีพียู


ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่ ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายนอก ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง


1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก

2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล 400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง ทั้งไมค์
3.สล็อต์ AGP
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล มีทั้ง AGP และ PCI Express เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ

5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซตถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
- North Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
- South Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
7.หัวต่อ SATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDEใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ

ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า จากพาวเวอร์ซับพราย โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว
10.ซ็อกเก็ตแรม

โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุมใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์ และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USBใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น

อ้างอิง
http://www.comsimple.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/48-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94-(Mainboard).html

แบตเตอรี่ (Battery)

แบตเตอรี่ CMOS
CMOS2

แบตเตอรี่ หรือ บ้านเราเรียกกันว่า "ถ่านซีมอส (CMOS batteries) หรือแบตเตอรี่แบคอัพ" ทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้กับซีมอส เนื่องจาก CMOS นั้นใช้เทคโนโลยีของแรมจึงต้องมีไฟเลี้ยงเพื่อป้องกันค่าการเซ็ตอัพภายในสูญหาย
ในยุคแรกแบตเตอรี่มักจะมีลักษณะเป็นกระป๋อง ติดตั้งไว้บนเมนบอร์ด แต่แบตเตอรี่แบบนี้จะสร้างออกไซด์ขึ้นมารอบตัวมัน และไปกัดกินวงจร ต่อมาจึงเลิกใช้ และเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่แบบ ลิเธียม (Lithium Battery) ที่มีลักษณะกลมแบนเหมือนเหรียญหน้าตาคล้ายถ่านนาฬิกา แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า สำหรับอายุการใช้งานของถ่านไบออส ตามมารตรฐานแล้วจะมีอายุถึง 10 ปี อย่างไรก็ตามเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และสภาพแวดล้อมภายในคอมพิวเตอร์
ในการทำงานนั้น ทั้ง BIOS และ CMOS ก็จะทำงานร่วมกันโดย BIOS จะใช้ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน CMOS ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็คือข้อมูลที่เกิดจากการเซ็ตอัพโดยผู้ใช้เอง ซึ่งจะเป็นข้อมูลเฉพาะของเครื่อง ฉะนั้นทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดเครื่อง BIOS ก็จะไปดึงข้อมูลที่กำหนดไว้จาก CMOS

อ้างอิง
http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/263-cmos-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟ (Power Supply)

พาวเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)
เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย
ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 200-250 VAC พร้อมกระแสไฟประมาณ 3.0-6.0 A และความถี่ที่ 50Hz ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ เพาเวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ รวมถึงปริมาณความต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆด้วย โดยระดับของแรงดันไฟ (DC Output) ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน แต่ปริมารสูงสุดของกระแสไฟ (Max Current Output) ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน (แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ) ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำนวลค่าไฟโดยรวม (Total Power) ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างรายละเอียดจากเพาเวอร์ซัพพลายยี่ห้อ Enermax ตะกูล Coolergiant รุ่น EG701AX-VH(W) ที่ให้กำลังไฟโดยรวมประมาณ 600 วัตต์ (Watt) ซึ่งมีข้อมูลต่างๆดังนี้

  • แรงดันไฟ(DC Output) +3.3V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ เม็นบอร์ด และการ์ดจอ เป็นหลัก
  • แรงดันไฟ(DC Output)+5V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ เม็นบอร์ด, แรม และอุปกรดิสก์ไดร์รวมถึงพอร์ต ต่างๆ
  • แรงดันไฟ(DC Output)+12V1และ +12V2 ปริมารกระแสไป (Current Output) 18A ใชั้กับ ซีพียู, เม็นบอร์ด, มอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงระบบระบายความร้อนต่างๆ ในที่นี้มาให้ 2 ชุด
  • แรงดันไฟ(DC Output) -12V ปริมารกระแสไฟ (Current Output) 0.8 A ใช้ร่วมกับไฟ +12V เพื่อจ่ายให้กับอุปกรร์ต่างๆ
  • แรงดัน(DC Output) +5VSB ปริมารกระแสไฟ(Current Output) 2.5 A เป็นแรงดันไฟสำรอง (Standby Voltage) ที่ใช้เปิดหรือปลุกการทำงานของเครื่องให้ตื่นขึ้นจากสภาวะเตรียมพร้อม (Stanby)

อ้างอิง
http://computerdodee.blogspot.com/2009/11/power-supply.html

โมเด็ม (Modem)

โมเด็ม (Modem)
เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และรับส่งข้อมูลกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง โอยอาศัยตัวกลางจำพวกสายโทรศัพท์และสาย Fiber Optic ในการส่งผ่านข้อมูล หลักการทำงานโดยคร่าวของโมเด็มก็คือ เปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณเสียงเพื่อให้สามารถส่งผ่านไปตามสายโทรศัพท์ได้ และในทางกลับกันก็รับเอาสัญญาณเสียงที่ถูกส่งผ่านมาตามสายโทรศัพท์จากโมเด็มอีกฟากหนึ่งมาแปลงกลับให้เป็นข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม ปัจจุบันโมเด็มที่มีวางขายและใช้งานกันโดยทั่วไป ถ่าแบ่งออกตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจะแบ่ง
ออกได้ 2 ชนิด คือDial-Up Modem (56K Dial-UP)
เป็นโมเด็มแบบอนาล็อคที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณผ่านระบบโทรศัพท์แบบธรรดา เวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เร็ต (ISP) ด้วย มาตราฐานล่าสุดที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ V.92 ซึ่งให้ Bit Rate หรืออัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 56/33.6 Kbps (รับข้อมูลขาลงจากอินเทอร์เน็ต หรือ Download ที่ความเร็ว 56 Kbps และส่งข้อมูล ขาขึ้น Upload ที่ความเร็ว 33.6 Kbps)



ADSL Modem (High-Speed Internet)
เป็นโมเด็มแบบดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลกันด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนคู่สายโทรศัพท์แบบะรรดา โดยเลือกใช่ย่านความถี่ที่ไม่มีในการใช้งานอินเทอร์เน็ต (โมเด็มแบบ Dial-Up ในระหว่างใช้งานอินเทอร์เน็ตจะำม่สามารถใช้โทรศัพท์ปกติไปพร้อมๆกันได้) อีกทั้งเวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั่ง ก็ไม่จำเป็นต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์เหมือนกับ 56k Dial-Up อีกด้วย ปัจจุบันเทคโนโยยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Hing-Speed Internet) และโมเด็มของ ADSL นี้กำลังเป็นที่นิยมและได้กลายเป็นมาตรฐานที่ใช้งานกันโดยทั่วไป ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ความเร็วได้ตามต้องการจากผ๔้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เช่น 256/128, 512/256 และ 1024/512 Kbps เป็นต้น โดยแต่ละความเร็วจะมีอัตราค่าบริการแต่กต่างกันไปสำหรับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดด้วยระบบ ADSL ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 8192/1024 Kbps หรือก็คือ รับส่งข้อมูลขาลงจาก ISP (Download) ด้วยความเร็วสูงสุด 16 Mbps และส่งข้อมูลขาขึ้นไปหา ISP (Uplpad) ด้วยความเร็วสูงสุด 1 Mbps
รูปแบบของโมเด็ม

สามารถแบ่งออกตามลักษณะในการติดตั้งได้ดังนี้
  • แบบติดตั้งภายใน (Internal Modem) มักเป็นแบบการ์ด PCI ที่ใช้เสียบลงบนเมนบอร์ดข้อดีของโมเด็มแบบนี้คือ ไม่มีสายต่อรุงรังและไม่ต้องใช้ตัวอะแดปเตอร์ (Adapter) คอยจ่ายไฟเลี้ยงให้
  • แบบติดตั้งถายนอก (External Modem) เป็นแบบตัวเตรื่องขนาดเล็กวางตั้งไว้อยู่ภายนอกตัวเครื่อง ในการเชื่อมต่อถ้าเป็นโมเด็ม 56k จะมีทั้งแบบที่ใช้กับพอร์ตอนุกรมและพอร์ต USB แต่ถ้าเป็น โมเด็ม ADSL จะมีทั้งแบบที่ใช้กับช่างต่อ RJ-45 ของการ์ด LAN และพอร์ต USB ส่วนสายสัญญารโทรศัพท์จะใช้เสียบเข้ากับช่องต่อ RJ-11 ของอุปกรณ์แยกสัญญาร (Splitter) ข้อดีของโมเด็มแบบนี้คือ ติดตั้งได้ง่ายและมีไฟบอกสถานะตลอดเวลา
แถมความรู้ให้อีกนิด
Splitter หรือ POTS Splitter


กวนสัญญารของเครื่องโทรศัพท์ธรรดาที่ต่อพ่วงอยู่ ทำให้สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตในระบบ ADSL ไปพร้อมๆกับการใช้โทรศัพท์บ้านได้ตามปกติ
อ้างอิง
http://computerdodee.blogspot.com/2009/11/modem.html

การ์ดแลน (LAN Card)


การ์ดแลน (LAN Card)

การ์ดแลน(LAN Card) เป็นชื่อที่เรียกกันติดปากทั่วไป แต่คุณรู้หรือไม่ว่าชื่ออย่างเป็นทางการของมันมีชื่อว่า การ์ดอีเธอร์เน็ต มีไว้สำหรับรับ/ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะัมีสายที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน เรียกว่า สายแลน การเชื่อมต่อเครือข่ายและจะทำให้เราสามารถและเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างเครื่องได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งสามารถดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ส่วนเครื่องอื่นก็ใช้การแชร์อินเตอร์เน็ตผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลัก ความเร็วในการ์ดแลนจะอยู่ที่ประมาณ 100 Mbps และเริ่มเข้าสู่ 1000 Mbps หรือเรียกกันว่า กิกะบิตแลน(Gigabit LAN) แต่ก็อย่างว่าแหละัครับ การเชื่อมต่อแบบแลนคือการแชร์ บางคนอาจจะเปิดมาก หรือเปิดน้อยขึ้นอยู่ว่าจะเล่นแบบไหน อาจทำให้เกิดการดึงกันระหว่างเครื่อง เครื่องที่เล่นไฟล์ที่ต้องใช้การดาวน์โหลดมากๆ ก็จะทำให้เครื่องอื่นเล่นได้ช้าลง

อ้างอิง
http://itsentre.blogspot.com/2013/03/lan-card.html

ฮับ (Hub)

Hub คืออะไร

HUB1

Hub (ฮับ) หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้

HUB
การที่อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ตสามารถทำงานได้ที่ความเร็ว 2 ระดับ เช่น 10/100 Mbps นั้น ก็เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องนั้นมีฟังก์ชันที่สามารถเช็คได้ว่าอุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อกับ Hub นั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดเท่าใด และอุปกรณ์นั้นก็จะเลือกอัตราข้อมูลสูงสุดที่รองรับทั้งสองฝั่ง ฟังก์ชันนี้จะเรียกว่า "การเจรจาอัตโนมัติ (Auto-Negotiation)" ส่วนใหญ่ Hub หรือ Switch ที่ผลิตจะมีฟังก์ชันนี้อยู่ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอีเธอร์เน็ตที่ความเร็วต่างกันได้ ถ้ามีอุปกรณ์เครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับ Hub และแต่ละโหนดสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราที่ต่างกัน Hub ก็จะเลือกอัตราส่งข้อมูลที่อัตราความเร็วต่ำสุด เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้จัออยู่ในคอลลิชันโดเมน (Collision Domain) เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่่ 10 Mbps ส่วน LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์ที่เหลือสามารถรับส่งข้อมูลได้ 10/100 Mbps แล้วคอมพิวเตอร์เหล่านี้เชื่อมต่อเข้ากับ Hub เดียวกันที่รองรับอัตราความเร็วที่ 10/100 Mbps เครือข่ายนี้ก็จะทำงานที่ความเร็ว 10 Mbps เท่านั้น แต่ถ้าเป็น Switch อัตราความเร็วจะขึ้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก Switch จะแยกคอลลิชันโดเมน

อ้างอิง
http://www.com5dow.com/basic-computer/265-hub-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless LAN)

ระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ ระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN หรือ WLAN เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น
หลักการทำงานของระบบ Wireless LAN
การทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point และมี PC Card ที่เป็น LAN card สำหรับในการเชื่อมกับ access point โดยเฉพาะ การทำงานจะใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่งสัญญาณ โดยมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 Ghz และสามารถเลือก config ใน Wireless Lan (ภายในระบบเครือข่าย Wireless Lan ควรเลือกช่องสัญญาณเดียวกัน)

ระยะทางการเชื่อมต่อของระบบ Wireless LAN ภายในอาคาร
1. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
2. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
3. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
4. ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
ภายนอกอาคาร
1.ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
2. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
3. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
4. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps

การเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย Wireless LAN มี 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc (Peer to Peer)
โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc หรือ Peer to Peer เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป โดยที่ไม่มีศูนย์กลางควบคุมอุปกรณ์ทุกเครื่องสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้เอง ตัวส่งจะใช้วิธีการแพร่กระจายคลื่นออกไปในทุกทิศทุกทางโดยไม่ทราบจุดหมายปลายทางของตัวรับว่าอยู่ที่ใด ซึ่งตัวรับจะต้องอยู่ในขอบเขตพื้นที่ให้บริการที่คลื่นสามารถเดินทางมาถึงแล้วคอยเช็คข้อมูลว่าใช่ของตน หรือไม่ ด้วยการตรวจสอบค่า Mac Address ผู้รับปลายทางในเฟรมข้อมูลที่แพร่กระจายออกมา ถ้าใช่ข้อมูลของตนก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลต่อไป
การเชื่อมโยงเครือข่ายไวร์เลสแลนที่ใช้โครงสร้างการเชื่อมโยงแบบ Ad-hoc ไม่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ตได้ เนื่องจากบนระบบไม่มีการใช้สัญญาณเลย
2. การเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure (Client/Server)
โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure หรือ Client / Server มีข้อพิเศษกว่าระบบแบบ Ad-hoc ตรงที่มีแอ็กเซสพอยน์เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง (ทำหน้าที่คล้ายฮับ) และเป็นสะพานเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายอุปกรณ์ไวร์เลสแลนเข้าสู่เคลือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนหลัก (Ethernet Backbone) รวมถึงการควบคุมการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์ไวร์เลสแลน

อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN
1. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card)
ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสายอากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
- แลนการ์ดแบบ PCI
- แลนการ์ดแบบ PCMCIA
- แลนการ์ดแบบ USB
- แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)
2. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point)
ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้
3. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้วถูกแปลงไปยังปลายทาง
4. Wireless Broadband Router
ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต
5. Wireless Print Server อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN
6. Power Over Ethernet Adapter
ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับตัว Access Point ได้
7. สายอากาศ (Antenna)
ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ไวร์เลสแลนให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่น ๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป

ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN
1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง
2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล
3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด

ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก


อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/banny/3481

ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM)

ซีดีรอมคืออะไร : What is CD-ROM
ซีดีรอม (CD ROM ย่อมาจาก Compact disc Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage
Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพ็คดิสก์สำหรับฟังเพลง ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูล
เทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600 MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน
จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น


ประเภทของซีดีรอม

เมื่อดูจากสภาพภายนอกจะเห็นว่าซีดีรอมแต่ละแผ่นมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่แท้ที่จริงนั้นซีดีรอมแบ่งออกได้หลายประเภท การแยกประเภทของ
ซีดีรอมนั้น แยกตามข้อกำหนดของหนังสือที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดีรอม เช่น Yellow CD หมายถึง ซีดีรอมที่ถูกผลิตตามข้อหนังสือหน้าปก
สีเหลือง เป็นต้น


ปัจจุบันแบ่งประเภทของซีดีรอมออกได้หลายประเภท ตามสีของหน้าปกหนังสือที่กำหนดลักษณะของซีดีรอม ดังต่อไปนี้
- Yellow CD หรือ DATA Storage CD
- Red CD / Audio CD
- CD-ROM XA หรือ Multi-session CD หรือ ISO 9660
- Mixed Mode CD

Yellow CD หรือเรียกว่า DATA Storage CD
เป็นที่รู้จักกันในชื่อของซีดีรอมประเภทที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data CD) มักพิมพ์คำว่า Data Storage บนแผ่น แผ่นซีดีรอมประเภทนี้ถูกนำมาเก็บข้อมูล
ที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกเป็นแนวเกลียว (Spiral) จากวงรอบ (Track) ส่วนในของแผ่นไปยังวงรอบส่วนนอก ข้อมูลจะถูกเขียนครั้งละหนึ่งบิตตามลำดับ
โครงสร้างของการบันทึกข้อมูลทางตรรกะ (Logical Format) ข้อมูลจะถูกบันทึกในลักษณะของแผนภูมิต้นไม้ (Tree) และไดเรคทอรี่ (Directory) และไฟล์
ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ

การใช้งาน DATA-CD
- ใช้เก็บข้อมูล
- สำหรับสำรองข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ หรือจากสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอื่นๆ
- สำหรับทดสอบบันทึกข้อมูลก่อนที่จะส่งแผ่นซีดีไปเป็นมาสเตอร์
- สำหรับการบันทึกข้อมูลเพื่อใช้งานภายในสำนักงาน


Red CD / AudiO CD
รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ Audio CD หรือคอมแพ็คดิสก์ คือแผ่นซีดีรอมที่มีไว้สำหรับฟังเพลง ซึ่งประกอบด้วย Track ของ Digital Audio ที่ถูกบันทึกลงไปใน
Compact Disc - Digital Audio (CD-DA) รูปแบบการเก็บข้อมูลเพลงเป็นรูปแบบสากล คือนำไปใช้ได้ทั่วโลกและใช้ได้กับหลายๆ สื่อ CD-DA แผ่นหนึ่งมี
Track ได้ 99 Track

CD-ROM XA หรือ Multi-session CD
Multi-session CD คือซีดีรอมที่ถูกผลิตตามมาตรฐาน ISO 9660 ข้อมูลในซีดีรอมจะมีมากกว่า 1 session หนึ่ง session คือการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องกัน
หนึ่งส่วน เมื่อปิด Session ดังกล่าว และเปิด Session ใหม่ ข้อมูลก็จะถูกบันทึกโดยไม่ต่อเนื่องกับ session เดิม ทำให้ใช้ประโยชน์จากซีดีรอมแบบ Multi-
session ในการ Update ข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม


ประโยชน์จากการใช้ซีดีรอมแบบ Multi - Session
- การสำรองข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
- สำหรับใช้ในการทำข้อมูลที่ต้องการแจกจ่ายเมื่อมีการอัปเดทข้อมูล

Mixed Mode

Classic Mixed Mode หรือ Mixed Mode ยุคเบื้องต้นนั้นคือแผ่นซีดีรอมที่มีข้อมูลใน Track แรก ตามด้วย Audio ใน Track
ต่อไปอีกหนึ่ง Track หรือหลายๆ Track โดยบรรจุใน session เดียว Mixed-Mode CD ใช้งานได้ดีกับคอมพิวเตอร์



อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาบางประการเกี่ยวกับ Classic Mixed Mode เนื่องจากหากบังเอิญว่าข้อมูลใน Track แรกนั้นนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ แต่กรณีนี้
บรรดาเครื่องเล่นซีดีของชุดเครื่องเสียงจะไม่สามารถใช้งานได้ ตรงกันข้ามอาจเกิดความเสียหายได้ เพราะใน Track ของข้อมูลซึ่งเป็น Track แรกนั้นคำนวณไม่ได้ว่า
ปริมาณสัญญาณที่ถูกส่งออกมานั้น อาจจะมากขนาดที่ทำให้ลำโพงเสียหายได้ ถึงแม้ว่าเครื่องเล่นซีดีบางตัวจะสามารถตรวจจับ CD-track และอ่านข้ามไป แต่โดยปกติ
เครื่องเล่นซีดีจะไม่มีฟังก์ชั่นนี้ บรรดาผู้ผลิตเครื่องเล่นซีดีที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้งานซีดีรอมประเภทนี้ต่างก็กลัวปัญหา และเริ่มมองหาวิธีการใหม่ๆ นั้นก็คือ
CD Extra

CD Extra
CD Extra หรือที่รู้จักกันในชื่อของ CD Plus หรือ Enhance CD เป็นวิธีการแก้ปัญหาเมื่อผู้ผลิตซีดีรอมต่างก็มองเห็นว่าผู้ผลิตไดรฟ์ซีดีรอม
ปัจจุบันผลิตแต่ไดรฟ์ ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi-Session หมดแล้ว


CD Extra จะประกอบด้วย 2 session session แรกเป็น CD-DA ที่สามารถมีได้ถึง 98 Track ประกอบด้วย Audio Track และ session ที่สองเป็น
Data Track ซึ่งถูกเขียนในรูปแบบของ CD-ROM XA เมื่อเอาแผ่นซีดีที่เป็น CD Extra มาใช้กับเครื่องเล่นซีดี session แรกที่เป็นส่วนของ Audio จะถูกนำมา
เล่นแต่เครื่องเล่นซีดีจะไม่อ่านข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจาก Session แรก ดังนั้นส่วนของ Data Track จึงไม่ถูกเล่นในเครื่องเล่นซีดี เมื่อนำเอาซีดีรอมดังกล่าวมาใช้กับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่าน session สุดท้ายก่อน ดังนั้นตัวของ Data จึงถูกอ่านในครั้งแรก

คุณลักษณะของ CD Extra ถูกระบุไว้ใน Blue book Standard อย่างไรก็ตามในข้อระบุของ Blue Book Standard ไม่ได้กำหนดว่าซีดีรอมที่จะถูกผลิต
ภายใต้มาตรฐานจำเป็นต้องเป็นซีดีรอมแบบ Multi - Session

คุณสมบัติของแผ่นซีดีรอม


CD-ROM เป็นสื่อที่มีคุณสมบัติที่หลากหลายต่างจากสื่อประเภทอื่นหลายประการด้วยกัน เช่น

- ความจุข้อมูลมหาศาล ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 680 เมกกะไบท์ เทียบได้กับ หนังสือ 250,000 หน้า หรือข้อความในกระดาษพิมพ์ดีดจำนวน
300,000 แผ่น หรือหนังสือสารานุกรม 1 ชุดจำนวน 24 เล่ม หรือภาพสี 5,000 ภาพ หรือเท่ากับข้อมูลในแผ่น floppy disk ขนาด 104 เมกกะไบท์ 460 แผ่น หรือ
ใน hard disk ขนาด 20 เมกกะไบท์ ถึง 34 ชุด ถ้าบุคคลคนหนึ่งอ่านหนังสือหนึ่งหน้าต่อหนึ่งนาทีโดยไม่หยุดพักในเวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน ประมาณว่าจะต้องใช้เวลา
เกือบ 11 เดือนจึงจะอ่านข้อมูลในแผ่น CD-ROM แผ่นหนึ่งได้หมด
- บันทึกข้อมูลนานาประเภท อยู่ในลักษณะของดิจิทัล ( digital encoding ) สามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิค
เสียงพูด และเสียงดนตรี ได้อย่างมีคุณภาพสูง
- การสืบค้นฉับไว CD-ROM บรรจุข้อมูลได้มากมายมหาศษลแต่สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วและแม่นยำภายในเวลาเพียง1 วินาทีเท่านั้น - มาตรฐานสากล แผ่น CD-ROM มีรูปแบบมาตราฐานจึงสามารถใช้กับหน่วยขับ CD-ROM หรือเครื่องเล่น CD-ROM ทั่วไปได้เหมือนกัน - ราคาไม่แพง ทั้งแผ่นและเครื่องเล่นซีดีรอมมีราคาถูกลงอย่างมากและมีอย่างแพร่หลาย - อายุการใช้งานนาน CD-ROM มีอายุการใช้งานนาน แต่แผ่นก็สามารถเสื่อมสภาพได้จากความชื้นและความร้อนต่างๆ - ความคงทนของข้อมูล CD-ROM เป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสนามแม่เหล็กจึงทำให้ข้อมูลอยู่คงที่ตลอดไป และที่สำคัญ ไม่ติดไวรัสเนื่องจากไม่สามารถเขียน
ทับได้
- ประหยัด เมื่อเปรียบเทียบขนาดเนื้อที่การบันทึกข้อมูลระหว่างแผ่น CD-ROM กับแผ่น floppy disk แล้ว จะเห็นได้ว่า CD-ROM แผ่นหนึ่ง สมารถบรรจุข้อมูลได้
มากกว่าแผ่น floppy disk หลายร้อยเท่า จึงทำให้ประหยัดเงินในการใช้ CD-ROM เพียงแผ่นเดียวแต่บันมึกข้อมูลได้มากกว่า
- ความสะดวก เนื่องจาก CD-ROM เป็นแผ่นที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ สามารถพกพาไปใช้ในที่ต่างๆได้โดยสะดวก และส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ง่าย
โดยทางไปรษณีย์

กระบวนการผลิตซีดีรอม

การผลิตซีดีรอมไม่เหมือนกับการผลิตแผ่นเสียง ขั้นตอนแรก คือการสร้างแผ่นมาสเตอร์ข้อมูล ที่จะถูกบันทึกลงบนแผ่นมาสเตอร์นี้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นภาพ
เสียง หรือข้อมูลทั่วไป ซึ่งจะ มีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลต่างกัน โดยใช้กำลังแสงเลเซอร์ที่มีควมเข้มข้นสูงมากกว่าเครื่องเล่น ซีดีทั่วไปหลายเท่าตัว ดังนั้นจึงต้องใช้เทคนิค
การถอดรหัสข้อมูลแบบพิเศษที่เรียกว่า miroscopic pits เมื่อได้แผ่นซีดีมาสเตอร์แล้วจึงนำมาใช้ทำเป็นปั๊มโลหะต้นแบบเพื่อทำสำเนาต่อไป การผลิตแผ่นซีดีรอมทั่วไป
จะใช้แผ่น ซีดีเปล่ามาทำการปั๊มด้วย master stamps หลังจากนั้นจึงนำไปเคลือบด้วยสาร Poly carbonate บางๆซึ่งจะทำให้แผ่นซีดี ดูสะท้อนแสงเป็นเงาแวววาว
และเป็นส่วนที่สะท้อนแสงที่ยิงมาจากตัวกำเนอแสงเลเซอร์ในไดรฟ์ซีดีรอม จากนั้นก็นำมา เคลือบด้วยแล็กเกอร์บางๆอีกหนึ่งขั้นสุดท้ายก็พิมพ์สลากรายละเอียด ของ
แผ่นดิสก์ ติดด้านบนของแผ่นเป็นขั้นตอนสุดท้าย พื้นผิวที่เป็นส่วนเก็บข้อมูลอยู่บริเวณด้านบนของแผ่นซีดีรอมนั่นเอง นั่นคืออยู่ชั้นถัดลงไปจากสลากที่ติดทับเอาไว้ และ
ไดร์ฟซีดีรอมอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีด้านล่างของแผ่น โดยโฟกัสแสงเลเซอร์ผ่านความหนา 1.2 มิลลิเมตร ของสารโพลีคาร์บอเนต นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมด้านล่างของ
แผ่นซีดีรอมที่รอยขีดข่วนเพียงเล็กน้อยไม่ส่งผล เสียหายต่อข้อมูลในแผ่น เพราะรอยขีดข่วนด้านบนของแผ่นเพียงเล็กน้อยไม่สามารถเข้าลึกไปถึงส่วนที่เก็บข้อมูลเอาไว้
ในอีกมุมหนึ่ง รอยขีดข่วนด้านบนของแผ่นเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำลายสารโพลีคาร์บอเนตที่เคลือบไว้อย่างบางๆได้ ซึ่งจะมีผลทำให้แผ่นซีดีรอมเสียหายทันที แม้
แผ่นซีดีรอมทนทานกว่าแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ แต่จะโค้งงอได้อย่างง่ายดาย หากถูกทิ้งไว้กลางแดด ดังนั้นจึงต้องเก็บรักษาแผ่นอย่างถูกวิธี โดยการใส่ไว้ใน caddy
หรือกล่องใส่แผ่นซีดีโดยเฉพาะ


เทคนิคของการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีรอม

แผ่นซีดีรอม เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในรูปของบิต 0 และ 1 ในฮาร์ดดิสก์นั้นตัวแผ่นจากจานแม่เหล็กจะบันทึกข้อมูลโดยอาศัยการ
เหนี่ยวนำเซลล์อนุภาค แม่เหล็กขนาดเล็กหลายๆเซลล์เข้าด้วยกัน แต่แผ่นซีดีรอมนั้นใช้เทคนิคการบันทึกข้อมูลที่ต่าง กันไป โดยเริ่มแรกแผ่นดิสก์จะมีสภาพราบเรียบ
ซึ่งจะเรียกว่า สวนLandsจากนั้นจึงถูกเผาด้วย ลำแสงเลเซอร์ตามกระบวนการผลิตที่ได้กล่าวมาข้างต้น จนกลายเป็นหลุมลึกลงไป เป็นส่วนที่ เราเรียกว่า pits
ดังนั้นเมื่อแผ่นดิสก์หมุนอยู่ในตัวไดร์ฟแสงเลเซอร์จะพาดผ่านจากส่วน Lands จะสะท้อนกลับออกมาแต่ถ้าผ่านส่วน Pits จะกระจายหายไป ส่วน photodetertor
ในหัวอ่านเลนส์ จะทราบถึงความแตกต่างสองประการนี้และนั่นคือคำตอบว่ามันทราบได้อย่างไรว่าบิตข้อมูลนั้นเป็น 1 หรือ 0


อ้างอิง
http://www.pkru.ac.th/techno/information3.htm

เครื่องเขียนแผ่นซีดีอาร์ และแผ่นดีวีดี (CD-RW Drive & DVD Writer Drive)

เครื่องเขียนแผ่นซีดีอาร์และแผ่นดีวีดี ( CD-RW Drive & DVD Writer Drive )


CD-RW Drive
CD-RW Drive นั้นใช้เขียนได้ทั้งแผ่น CD-R และแผ่น CD-RW( เป็นแบบที่ลบแล้วเขียนทับใหม่ได้ ) และปัจจุบันกำลังเข้ามาแทนที่ Floppy Disk Drive ซึ่ง เก็บข้อมูลได้น้อยกว่าแผ่น CD-R มากโดยแผ่น CD-R 1 แผ่นสามารถจุข้อมูลได้ 650-700 MB

คุณสมบัติต่างๆที่สำคัญของไดร์ฟซีดีอาร์ CD-RW

    • ความเร็วในการเขียน / เขียนซ้ำ / อ่านข้อมูลบนแผ่นของไดร์ฟ เช่น 32x/10x/40x ซึ่ง 32x คือความเร็วในการเขียนลงบนแผ่น CD-R,10x คือความเร็วในการเขียนซ้ำลงบนแผ่น CD-RW และ 40x คือความเร็วในการอ่านข้อมูลบนแผ่น
    • เทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันแผ่นเสียตอนเขียน
    • ขนาดของหน่วยความจำบัฟเฟอร์ในไดร์ฟ

ไดร์ฟ DVD Writer

เป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น DVD ซึ่งในปัจจุบันกำลังเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในกลุ่มของผุ้ใช้งานทั่วไป และตามบริษัทต่าง ๆ เนื่องจากตัวไดร์ฟDVD Writer นั้นราคาเริ้มที่จะถูกลง ปัจจุบันราคาของไดร์ฟ DVD Writer บางรุ่นมีราคาไม่ถึงหมื่นบาทเท่านั้น นับว่าถูกมากเมื่อเทียบกับ แต่ก่อน ซึ่งแม้ว่าราคาแผ่นก็ยังคงแพงอยู่ แต่คาดว่าอึกไม่นานไดร์ฟ DVD Writer คงจะเข้ามาแทนที่ CD-RW เพราะความจุของแผ่น CD-RW, CD-RW เริ่มไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานในปัจจุบันแล้ว
แผ่นดีวีดีที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลนี้มีอยู่หลายประเภทและจนถึงปัจจุบันมาตรฐานและข้อกำหนดของแผ่นบางประเภทก็ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาโดยแบ่งออกเป็นสองค่ายใหญ่ ๆคือ DVD Forum และ DVD + RW Alliance ซึ่งมาตรฐานของแต่ละค่ายก็ไม่คอมแพททิเบิลกันดังรายละเอียดต่อไปนี้
ค่าย DVD Forum ( www.dvdforum.com ) ค่ายนี้เป็นคนวางมาตรฐาน DVD ไว้แต่เดิม และได้ขยายมาตรฐานให้ครอบคลุม DVD แบบบันทึกได้ ข้อดีก็คือสามารถเอาแผ่นเหล่านี้ไปใช่อ่านในไดร์ฟ DVD ธรรมดา (DVD-ROM) ได้แน่นอน เพราะเป็นมาตรฐานจากค่ายเดียวกันโดยแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

DVD-RAM เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถเขียน และลบข้อมูลได้หลายครั้ง ( ตามมาตรฐานที่ว่าไว้ราว 100,000 ครั้ง ) และไม่จำเป็นต้องเขียนหรือลบทั้งแผ่นในคราวเดียวด้วยปัจจุบันถูกพัฒนา ให้มีความจุเพิ่มเป็น 4.7 GB เท่ากับแผ่น DVD ทั่วไปทั้งนี้ไดร์ฟ DVD-RAM ก็จะใช้เขียนแผ่น DVD-RAM เท่านั้นไม่สามารถเขียนแผ่น DVD-R และ DVD-RW ได้

DVD-R (DVD Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลลงไปได้ครั้งเดียวเท่านั้น มีให้เลือกทั้งแบบหน้าเดียวและ 2 หน้าโดยมีความจุ 4.7 GB ต่อหน้า

DVD-RW (DVD Rewritable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถเขียนและลบข้อมูลได้หลายครั้ง ( ประมาณ 1,000 ครั้ง ) เหมือนกับ DVD-RAM ต่างกันตรงที่แผ่นแบบนี้จะต้องเขียนหรือลบทั้งแผ่นในคราวเดียว ( เหมือน CD-RW) โดยมีความจุ 4.7 GB ต่อหน้า ที่เห็นมีขายในเมืองไทยมักจะเป็นยี่ห้อ Pioneer, Princo เป็นต้น

ค่าย DVD+RW Alliance ( www.dvdrw.com )
ดีวีดีแบบบันทึกได้ทั้ง 3 ฟอร์แมตที่ข้างต้นนั้นพัฒนาขึ้นโดย DVD Forum ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ชั้นนำ แต่ HP.Philips และ Sony ( ซึ่งสองรายหลังก็เป็นสมาชิกหนึ่งในค่าย DVD Forum ด้วยเช่นกัน ) และอีกหลายบริษัท ได้หันมาตั้งกลุ่มพัฒนาฟอร์แมตดีวีดีบันทึกได้แบบใหม่คือ DVD+RW ขึ้นมา โดยออกแบบให้ใช้กับไดร์ฟ DVD ทั่วไปได้เช่นกันและล่าสุดนี้ดูเหมือน DVD+RW ทำท่าจะมาแรงเพราะไมโครซอฟท์ก็ได้ประกาศสนับสนุนมาตรฐานนี้ไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2544 จึงเป็นเรื่องที่ต้องคอยดูกันต่อไปว่าฟอร์แมตไหนจะอยู่รอดปลอดภัยที่สุด แต่สำหรับในปัจจุบัน (2547) ไดร์ฟใหม่ๆจะสามารถบันทึกๆได้ทั้งแบบ +RW และ –RW แล้วแต่แผ่นที่ใช้ สำหรับฟอร์แมตที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่ม DVD-RW Alliance มีรายละเอียดดังนี้

DVD+R บันทึกได้เพียงครั้งเดียวโดยคอมแพททิเบลกับไดร์ฟ DVD+RW

DVD+RW บันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องเขียนหรือลบทั้งแผ่นในคราวเดียว รองรับการเขียนข้อมูลแบบสุ่มตำแหน่ง เช่นเดียวกับ DVD-RAM มีขนาดความจุ 4.7 GB ต่อหน้า และยังคงความเข้ากันได้กับแผ่นซีดี และดีวีดีทั้งหมดด้วย ( ยกเว้น DVD-RAM)
Note (ข้อควรจำ) DVD Dual Layer
กลางปี 5247 นี้ Sony หนึ่งกลุ่ม DVD+RW Alliance ได้พัฒนาฟอร์แมตใหม่ของ DVD แบบบันทึกได้คือ DVD Dual layer (DL) ซึ่งบันทึกข้อมูลได้สองชั้น ทำให้เพิ่มความจุจากเดิมประมาณ 4.3 GB เป็น 8.5 GB ซึ่งพอที่จะเก็บหนังทั้งเรื่อง

อ้างอิง
http://users6.nofeehost.com/application2/Computer_Web/unit04_2.htm

บลูทูธ (Bluetooth)

บลูทูธ (Bluetooth) คือ ระบบการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กโทนิคแบบสองทาง ที่ใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) เป็น สื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ต่างชนิดกัน โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ้งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ โดยปัจจุบัน ระบบ บลูทูธได้เข้ามาช่วยทำให้การส่งถ่ายข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง สะดวกยิ่งขึ้น

แสดงรูป Bluetooth Logo

ระบบการทำงานของ Bluetooth

Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น

อ้างอิง
http://com360.blogspot.com/2011/01/bluetooth-bluetooth.html

พอร์ต (Firewire)

Fire Wire Technology (IEEE 1394)

เทคโนโลยี IEEE 1394 (Fire Wire)
เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกความเร็วสูง และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ต้องการอัตราการส่งผ่าน ข้อมูลสูงๆ เช่น การ์ดตัดต่อวิดีโอหรืออุปกรณ์แบ็กอัพข้อมูลขนาดใหญ่ IEEE 1394 นั้นถูกออกแบบให้เป็นบัสอนุกรมประสิทธิภาพสูง มีลักษณะการทำงานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่จะใช้การต่อเชื่อมเป็นแบบอนุกรม ซึ่งถูกพัฒนาให้มีการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 800 Mbps โดยเรียกกันว่า IEEE 1394 , Fire Wire หรือ I-link ซึ่งเป็นชนิดเดียวกัน
Fire Wire นั้นเป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Apple Computer Inc. ส่วน i-link เป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Sony Corporation และสุดท้าย IEEE-1394a (Fire Wire400) และ IEEE-1394b (Fire Wire800) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อของกลุ่ม IEEE ซึ่งเป็นมาตรฐานของการรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ และความเร็วสูง ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
การเชื่อมต่ออีกรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลังและมีการนำเอามาเปรียบ เทียบกันมากก็คือ มาตรฐาน USB 2.0 ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่าง เมาส์, พรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ โดยจำกัดอยู่ในกลุ่มที่เคยใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1 เพราะว่า USB 2.0 ถึงแม้จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 480Mbps (Fire Wire อยู่ที่ 400Mbps) แต่เมื่อใช้งานจริง Fire Wire กลับมีความเร็วเหนือกว่า เพราะว่าโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน สามารถดึงเอาประสิทธิภาพการทำงานของ Fire Wire ออกมาได้มากกว่า (แอพพลิเคชันสำหรับการตัดต่อจากกล้องวิดีโอส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ทำงาน ร่วมกับ Fire Wire มากกว่า) และยังมีข้อเปรียบเทียบอีกอย่างก็คือ USB สามารถใช้งานได้ 1 อุปกรณ์ต่อ 1 พอร์ต USB เท่านั้น (ไม่รวมกรณีที่ใช้ USB hub) ดังนั้นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จึงมีพอร์ต USB ติดมากับเครื่องเยอะ (อย่างต่ำๆ ก็ 4 พอร์ต) ส่วนการใช้ USB hub ถึงแม้ว่าจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายตัวแต่ก็จะทำให้ความเร็วในการใช้ งานลดลง แต่สำหรับ Fire Wire นั้น เนื่องจากใช้พื้นฐานการเชื่อมต่อแบบ Serial (อนุกรม) ทำให้สามารถต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวเรียงกันเป็นลูกโซ่ได้ ซึ่งทำให้สามารถใช้พอร์ต Fire Wire พอร์ตเดียวเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายชนิด แต่ข้อเสียก็คือผู้ใช้จะต้อง อินเทอร์รัปต์ อุปกรณ์ทุกตัวที่ทำการเชื่อมต่อเสียก่อนจึงทำการถอดอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ออกได้
ในปัจจุบัน Fire Wire ได้รับความนิยมจากผู้ผลิตอุปกรณ์ประเภทตัดต่อ แต่ก็เห็นได้ว่าคลื่นลูกหลังอย่าง USB 2.0 ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ซึ่งทำให้กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน
Fire Wire ได้เปิดตัวมาตรฐาน IEEE 1394b ตัวใหม่ที่สามารถรองรับความเร็วการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 800Mbps (S800) และ 1600Mbps (S1600)



 พื้นฐานของ Fire Wire

เนื่องจาก Fire Wire 800 หรือ IEEE 1394 “b” นั้น โดยพื้นฐานแล้วใช้สถาปัตยกรรมเดียวกับ Fire Wire หรือ IEEE 1394 ซึ่งถือกำเนิดในปี 1995 โดยช่วงแรกรู้จักกันในนามของ “iLINK” จาก Sony และ “Lynx” ความเร็วคือ 400Mbps และสามารถเปิดใช้งานหรือ Interrupt อุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องเปิดเครื่องใหม่ (Hot plugging)
ในด้านการทำงานนั้นมาตรฐาน IEEE 1394 สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 63 ชิ้น โดยพื้นฐานของการเชื่อมต่อจะเป็นแบบ Serial แต่เวลาใช้งานจริงนั้นเนื่องจากสามารถต่อแบบแยกสาขาได้ทำให้ไม่จำเป็นต้อง เชื่อมต่ออุปกรณ์มาก ในปัจจุบัน Fire Wire กลายเป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย และเนื่องจากราคาที่ถูกลงทำให้ VIA, Texas Intstrument และผู้ผลิตเมนบอร์ดหลายรายได้จับเอาพอร์ต Fire Wire ใส่ไว้ในเมนบอร์ดของบริษัท สำหรับอินเทอร์เฟซ (ส่วนหัวต่อ) จะใช้หัวต่อแบบ 6 พิน โดยสายที่ใช้เชื่อมต่อส่วนมากจะประกอบด้วยสาย 1 คู่ สำหรับส่งผ่านข้อมูลและสายอีก 2 เส้น สำหรับจ่ายไฟ ซึ่งสายแบบนี้จะสามารถรองรับการใช้ไฟได้มากที่สุดถึง 1.5A ส่วนความดันไฟที่รับได้จะอยู่ระหว่าง 8V ถึง 30V ในด้านของความยาวสายอนุญาตให้มีสายยาวที่สุดได้ 4.5 เมตร สุดท้ายข้อได้เปรียบที่ Fire Wire เหนือกว่า USB 2.0 ก็คือ สามารถใช้งานในระบบปฏิบัติการอย่าง MAC OS หรือ Linux ได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ และนอกจากนั้นหากใช้ชิป Fire Wire Controller ชั้นดีก็จะทำให้การทำงานผ่าน Fire Wire กินพลังประมวลผลของซีพียูเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับ USB

IEEE 1394 (Fire Wire) สามารถต่อพ่วงกันได้ แบบ Daisy Chain สูงถึง 63 อุปกรณ์ พร้อมทั้งมีความเร็วในการรับและส่งข้อมูลได้สูงถึง 400 Mbit/sec ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้กับ Fire Wire ไม่ใช่เพียงแต่ Digital Video เท่านั้น ยังมี อุปกรณ์อื่นๆ อีก เช่น โทรทัศน์แบบ Direct to Home (DTH) , Harddisk , Scanner , เครื่องพิมพ์, เครื่องเล่น DVD,CD เป็นต้น แต่ในงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด หรือคนนำไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านการตัดต่อวีดีโอหรือที่เราเรียกกันว่า "Digital Video Editing" ซึ่ง Fire Wire-1394 ก็ได้เห็นความสำคัญของงานนี้ จึงได้มีการ Bundle Software สำหรับงานตัดต่อวีดีโอมาให้พร้อมแล้วคือ "ULEAD Video Studio Ver 6.0 SE Edittion" ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถเก็บภาพ จากอุปกรณ์วีดีโอ เข้ามาเก็บใน Harddisk และสามารถแก้ไข ตัดต่อ ภาพได้ตามความต้องการ ได้ง่ายเหมือนเป็น " Home Video Studio"



ในปัจจุบัน IEEE 1394 (Fire Wire) หรือ i-link กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทบันเทิง สื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกัน โดยมีแนวทางหลัก ๆ ดังนี้
• ความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลที่ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• Analog / Digital Converter จะทำเฉพาะที่อุปกรณ์เครื่องใช้ต้นทางเท่านั้น หลักจากนั้นจะเป็น Digital ทั้งหมด
• สายสัญญาณขนาดเล็กที่เชื่อมต่อสามารถขยายความยาวออกไปได้ด้วยสายเชื่อมต่อ พิเศษที่มีคุณภาพสูงกว่าและราคาแพง
• ไม่ต้องใช้จุดเปิด หรือ Terminator ไม่ต้องกำหนด device ID และไม่ต้องกำหนดหมายเลขใดๆ ที่ตัวอุปกรณ์
• Hot-pluggable คือ เราสามารถต่อเชื่อมหรือถอดอุปกรณ์ออกในขณะที่กำลังใช้งานอยู่ได้ (การเสียบ/ถอดโดยไม่ต้องปิดเครื่อง)
• ออกแบบมาให้ใช้สำหรับสินค้าประเภทคอนซูเมอร์จึงมีราคาถูก
• เป็นระบบที่ทำให้อุปกรณ์ความเร็วต่างกันสามารถใช้งานร่วมกันได้ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• รูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นทั้ง daisy chain การต่อแยกแบบ Tree และการต่อตรงแบบ Peer – to – Peer
• มีขบวนการในการควบคุมเวลา สำหรับการส่งผ่านข้อมูลที่มีคุณภาพ โดยมีจุดพักข้อมูลที่น้อยที่สุด
• เป็นระบบเปิดไม่ผูกขาดสำหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
• ขบวนการบริหาร “Bus” มีระบบป้องกันที่ดีมาก รวมทั้งการจัดสรรแหล่งพลังงานของทุกตัวอุปกรณ์ที่อยู่บน “Bus” เดียวกัน อุปกรณ์ต้องสามารถสัมผัสการต่อเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว


การทำงานของเทคโนโลยี IEEE 1394 (Fire Wire)

การนำ IEEE 1394 (Fire Wire) ไปใช้งาน
ระบบปฏิบัติการ(OS) ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อ Fire Wire ในตระกูลพีซีก็คือ Window XP ผู้ที่ต้องการจะใช้ Fire Wire ต้องตรวจสอบว่าบนพีซีระบปฏิบัติการที่ใช้สนับสนุนหรือไม่ โดยการที่จะใช้ Fire Wire ได้นั้น เมนบอร์ดต้องสนับสนุนด้วยซึ่งต้องมีชิปเพิ่มลงไปในเมนบอร์ด สำหรับพีซีนั้น ในขณะนี้มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆหลายรุ่นได้ติดตั้งช่องสำหรับการต่อเชื่อม อุปกรณ์ประเภท Fire Wire มาให้แล้ว ถ้าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมีระบบปฏิบัติการที่ Window XP สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ Fire Wire แต่เมนบอร์ดที่ใช้กลับไม่มีพอร์ตดังกล่าว สามารถซื้อการ์ด Fire Wire Controller ซึ่งเป็นการ์ดที่มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI มาติดตั้งเพิ่มเติมได้ ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชนั้นมีพอร์ต Fire Wire มาพร้อมอยู่แล้ว และอุปกรณ์ที่มีต่อพ่วงอินเทอร์เฟส Fire Wire ในขณะนี้ยังมีไม่มากนัก

เมื่อ IEEE 1394 เข้ามาแทนที่พอร์ต I/O อื่น ๆ แล้ว ประเด็นที่ต้องพิจารณา 2 ประเด็น คือ จำนวนอุปกรณ์ที่สามารถนำเข้ามาต่อพ่วงได้และมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล แน่นอนว่าการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่าเดิมถึง 40 เท่า ของ USB 2.0 คงไม่สามารถจะใช้เพียง 4 เส้น คือ รับ-ส่งข้อมูล 2 เส้น และเป็นสายไฟเลี้ยง 2 เส้น อย่างใน USB 1.1 ได้ โดย Fire Wire จะใช้สายทั้งหมด 6 เส้น



จากภาพนั้นเราจะเห็นได้ชัดว่ามีสายที่ใช้สำหรับรับและส่งข้อมูล 4 เส้น โดยแยกออกจากกัน โดยข้อมูลจะส่งผ่านสายแต่ละคู่ในรูปของชุดข้อมูล โดยจะบรรจุไปด้วยข้อมูลที่ต้องการรับและส่งค่าแอดเดรสในการรับส่งข้อมูลนั้น ๆ สิ่งที่ทำให้มาตรฐาน IEEE 1394 นี้สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เพราะการออกแบบที่ดีของสายนำสัญญาณที่สามารถลดระดับของสัญญาณรบกวนลงได้ ทำให้สัญญาณที่ส่งไปนั้นรวดเร็วและไม่มีความผิดพลาด ซึ่งมาตรฐานที่ IEEE 1394 นั้นจะต่อกับอุปกรณ์ได้ทั้งหมด 63 อุปกรณ์ และการต่อจะมีลักษณะคล้ายกับการต่อแบบ Peer to Peer network คือ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงอยู่นั้นจะไม่มีตัวหนึ่งตัวใดเป็นตัวควบคุมการรับส่ง ข้อมูลแต่สามารถติดต่อกันเองได้ไม่เหมือน USB ที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมแต่ Fire Wire ไม่ต้องให้คอมพิวเตอร์ควบคุมและจัดการการรับส่งข้อมูล Fire Wire หรือ IEEE 1394 นั้น อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันเองได้ ซึ่งทำให้เกิดลักษณะการสื่อสารที่ I/O ชนิดอื่น ๆ ไม่มี การที่คอมพิวเตอร์สองเครื่องสามารถแชร์อุปกรณ์ต่อพ่วงกันได้
การรับส่งข้อมูลจะมีทั้งโหนดของ Asynchronously และ Isochronously โดยการส่งแบบ Asynchronously จะสามารถอินเทอรัปต์ได้ แต่ใน Isochronously mode จะไม่สามารถอินเทอร์รัปต์เมื่อการติดต่ออยู่ในแบบ Asynchronously mode ระบบจะจัดแบ่งแบนด์วิดธ์ตามที่อุปกรณ์ต้องการ เมื่ออุปกรณ์ต้องการส่งข้อมูล อันดับแรกมันจะส่งสัญญาณออกไปก่อนเพื่อตรวจสอบว่าสามารถส่งขึ้นไปในระบบบัส ได้หรือไม่ ถ้าตรวจพบว่าว่างแล้วจึงจะส่งข้อมูลออกมายังบัส แต่ขบวนการเช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลแบบ streaming video เพราะหากมีอุปกรณ์อื่นต่อพ่วงอยู่และขอแบนด์วิดธ์ในการส่งขึ้นมา streaming video นั้นจะถูกอินเทอร์รัปต์ ทำให้ภาพกระตุก เป็นต้น ดังนั้น เมื่อใช้อุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลแบบ streaming video การส่งข้อมูลมักจะเป็นแบบ Isochronously mode โดยรับรองได้ว่าข้อมูลนั้นสามารถส่งได้ตามที่อุปกรณ์นั้น ๆ ได้ขอแบนด์วิทธ์เอาไว้ และในด้านเทคโนโลยีนั้น Fire Wire จะสนับสนุนการส่งผ่านข้อมูลแบบ Isochronously mode ที่สนับสนุนแบนด์วิทธ์ของอุปกรณ์ต่างประเภทกัน โดยสนับสนุนอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลในลักษณะสายข้อมูล (Data Streming) อันได้แก่ Audio Video และ imaging


IEEE 1394b (Fire Wire 800)

Fire Wire 800 หรือ IEEE 1394b นั้นได้รับการรับรองมาตรฐานตั้งแต่ปี 2002 ส่วนสิ่งที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงจาก Fire Wire รุ่นเดิมมีดังนี้
• ความเร็วการส่งผ่านข้อมูลที่สูงขึ้น Fire Wire 800 มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 800Mbps ซึ่งนับว่าเร็วเป็น 2 เท่าของรุ่นเดิมและจากการที่ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบเดียวกับที่ใช้ใน Gigabit Ethernet ทำให้ในทางทฤษฎีแล้ว IEEE 1394 สามารถมีความเร็วได้สูงถึง 3,200Mbps ซึ่งด้วยความเร็วขนาดนี้จะทำให้สามารถนำไปใช้ในงานตัดต่อวิดีโอขั้นสูงอย่าง High-definition (HD) Video




ลักษณะของหัว Connector ที่สามารถทำให้ Fire Wire 800 และ Fire Wire รุ่นเดิมทำงานด้วยกันได้เนื่องจาก Fire Wire 800 นั้นมีการทำงานอยู่ 2 โหมด คือโหมด beta ที่มีการเข้ารหัสความเร็วสูง ส่วนอีกโหมดก็คือ โหมด Legacy ที่จะมีความเข้ากันได้กับมาตรฐาน Fire Wire รุ่นเก่า (ทั้ง IEEE 1394-1995 และ IEEE 1394a)

• การส่งข้อมูลแบบ Real-time Fire Wire มีความแตกต่างจากเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ ตรงที่สามารถส่งผ่านข้อมูลในลักษณะของ Real-time ซึ่งมีความจำเป็นมากในงานตัดต่อวิดีโอหรือเพลง ซึ่งลักษณะของการส่งผ่านข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ Isochronous และ Asynchronous โดยแบบแรกจะเหมาะกับงานที่ต้องการความถูกต้องของลำดับข้อมูล (เช่นการตัดต่อวิดีโอ) ในขณะที่แบบที่สองนั้นจะเหมาะกับงานที่ต้องการความครบถ้วนของข้อมูลโดยไม่ สนใจเรื่องลำดับของข้อมูล

• on-Bus power ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอก สามารถชาร์จไฟอุปกรณ์ในขณะที่ทำการเชื่อมต่อได้เลย แต่ในกรณีนี้จะใช้ไม่ได้กับหัว Connector และสายแบบ 4 พิน เพราะว่าหัวต่อและสายประเภทนี้จะไม่มีการจ่ายไฟออกมาจากพอร์ตแต่อย่างใด

• พัฒนาการที่ดีกว่า USB 2.0 การเชื่อมต่อแบบ USB 2.0 จะได้รับความนิยมมากในอุปกรณ์ภายนอกหลายชนิด แต่ยังคงด้อยกว่าในหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของความเร็ว, ความยาวของสายที่รองรับและกำลังไฟที่จ่ายผ่านพอร์ต ทำให้เมื่อเทียบกันแล้ว FireWire จะรองรับงานที่ต้องใช้การส่งผ่านข้อมูลหนักๆ อย่างงานวิดีโอ, มัลติมีเดีย, งานกราฟิกหรืองานในสตูดิโอได้ดีกว่า นอกจากนั้น FireWire 800 ยังมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบ Peer-to-Peer ทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันสามารถทำได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูล ผ่านมายังคอมพิวเตอร์ก่อน ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและลดการใช้งานทรัพยากรของซีพียูไปได้มากเมื่อเทียบ กับ USB


การขยายขีดความสามารถของ IEEE 1394 (Fire Wire) ในอนาคต

ข้อจำกัดของ Fire Wire

Fire Wire ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ และโพรโตคอล IPv4 ที่ใช้กับ IEEE 1394 นั้นไม่ได้รับการปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล มากนัก และสุดท้ายก็คือ ข้อจำกัดของตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอง ซึ่งหากนำไปใช้กับระบบปฏิบัติอื่นๆ อย่าง Linux หรือ Unix ก็จะได้ความเร็วมากกว่านี้ แต่ข้อจำกัดที่สุดของ Fire Wire Network ก็คือ ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้เน็ตเวิร์กที่สร้างจาก Fire Wire จะเหมาะกับการใช้งานในบ้านเท่านั้นเพราะไม่ต้องสนใจเรื่องการรักษาความ ปลอดภัยกันมากมายนักทำให้ภาพรวมของการใช้งาน Fire Wire 800 เป็นระบบเน็ตเวิร์ก จะมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ได้เท่านั้น

ขีดความสามารถของ IEEE 1394 (Fire Wire) ในอนาคต
• การเชื่อมต่อ กับระบบ gigabit
• การเชื่อมต่อ กับ 100 Mbit/s
• การขยายความยาวของสาย โดยใช้สายนำสัญญาณที่สามารถรองรับการทำงานได้ดีกว่าเดิม และการใช้ Fiber Optic
• การกำหนด A/V command และ protocol
• ระบบเชื่อมต่อระหว่างกลุ่ม ของ 1394 ด้วยกันเอง
• การทำ gateway ไปสู่ระบบสื่อสารข้อมูลอื่น ๆ เช่น ATM , Ethernet เป็นต้น

ทิศทางของ IEEE 1394 (Fire Wire)
ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ เสียง โทรศัพท์ โทรสาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งหลายกำลังจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย ขึ้น ซึ่งความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าหากันโดยไม่ต้องปิดเครื่อง ทำให้ผู้ใช้ลดความกังวลในความยุ่งยากต่าง ๆ เช่น กลัวเครื่องเสียหรือกลัวไฟฟ้าซอต เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะหายไปและอุปกรณ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้ก็จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้คน มากขึ้น

อ้างอิง
http://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/784838-Firewire-port-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม

http://www.it.scilpru.in.th/web_teacher/pongporn/hardware2/case.html  

http://www.comsimple.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/48-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94-(Mainboard).html

http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/263-cmos-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

http://computerdodee.blogspot.com/2009/11/power-supply.html

http://computerdodee.blogspot.com/2009/11/modem.html

http://itsentre.blogspot.com/2013/03/lan-card.html

http://www.com5dow.com/basic-computer/265-hub-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

http://blog.eduzones.com/banny/3481

http://www.pkru.ac.th/techno/information3.htm

http://users6.nofeehost.com/application2/Computer_Web/unit04_2.htm

http://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/784838-Firewire-port-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

http://com360.blogspot.com/2011/01/bluetooth-bluetooth.html